โชยุ คือซอสถั่วเหลืองหรือคนไทยรู้จักกันในชื่อซีอิ๊วขาว แต่สำหรับญี่ปุ่นแล้วโชยุมีรสชาดเรียงตามลำดับความเข้มข้นของสีที่ได้จากการหมักดังนี้
ระดับสีของโชยุจะแบ่งหลักๆได้ 6 สี ซึ่งจะเข้มขึ้นตามระยะเวลาการหมักได้ดังนี้

- โชยุ สีขาว (white color and salty)
เป็นโชยุที่มีสีออกขาวใส มีระยะเวลาการหมักที่สั้น ใช้เป็นโชยุสำหรับเพิ่มรสชาดในเครื่องปรุงอีกที ซึ่งไม่ทำให้อาหารนั้นเปลี่ยนสีไปตามสีของซีอิ๊วซึ่งปกติมีสีเข้ม ใช้กับซุปต่างๆหรือไข่ตุ๋นญี่ปุ่น เป็นต้น
2. โชยุ สีอ่อน (Thin color and salty)
เป็นซีอิ๊วโชยุรสอ่อนแต่มีส่วนความเค็มมาก ส่วนใหญ่ชาวญี่ปุ่นทางตะวันตกเช่น เกียวโตใช้รับประทานกับอาหารต่างๆ เช่น ใช้ในเมนูต้ม แกง เมนูเต้าหู้เย็น หรือซาชิมิสีเนื้อสีอ่อน เป็นต้น
3. โชยุ รสหวาน (Sweet)
เป็นโชยุที่ออกรสหวาน ส่วนมากใช้ในภูมิภาคคิวชูซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น สามารถใช้รับประทานกับข้าวปั้น (โอนิกิริ ) ข้าวหน้าไข่ ซาชิมิหรือปลาดิบที่มีเนื้อสีขาว หรือใช้กับอาหารเมนูต้ม นึ่ง ได้

4. โชยุ รสเข้ม (Standard)
เป็นโชยุที่ใช้ปรุงอาหาร หรือทานกับอาหารทั่วไป ซึ่ง80%ที่เราพูดถึงโชยุก็หมายถึงโชยุรสเข้มมาตรฐานนี้ ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกภูมิภาคของญี่ปุ่น สามารถใช้ได้กับอาหารทุกอย่าง เช่นใช้เป็นเครื่องปรุงผัดอาหาร ทานกับเต้าหู้ หรือเมนูผัดผัก เป็นต้น

5. โชยุ รสเข้มข้นหมักซ้ำ (Strong)
เป็นโชยุที่มีการหมักโดยใช้ระยะเวลานาน โดยใช้วิธีหมักโชยุด้วยโชยุ ทำให้รสชาดที่ได้คือโชยุเข้มข้น2เท่า ด้วยระยะเวลาหมัก2เท่า ทำให้ทั้งรสชาดและกลิ่นมีระดับที่เข้มข้นเข้ากันได้พอดี เป็นโชยุที่เหมาะกับรับประทานกับเนื้อปลาดิบ ซาชิมิทั่วไป เนื้อสัตว์ สเต๊ก แกงกะหรี่ เป็นต้น

6. โชยุ รสเข้มข้นหมักระยะเวลานาน (Color is dense and strong)
มีวิธีการหมักที่ถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบหลัก ใช้น้ำในการหมักน้อย ทำให้เกิดน้ำซอสที่เข้มข้นรวมกับระยะเวลาการหมักที่นาน ทำให้สีที่ได้เข้มและมีกลิ่นหอมเฉพาะเป็นพิเศษ ถือว่าเป็นโชยุระดับไฮคลาสก็ว่าได้ เหมาะกับอาหารเช่น อาหารย่างซอสเทริยากิ , ปลาดิบที่มีเนื้อสีเข้ม เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิง s-shoyu.com
เรียบเรียงโดย MONA